คอนกรีตเสริมเหล็ก

คอนกรีตเสริมเหล็ก หรือ ค.ส.ล. เป็นวัสดุที่นิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านเป็นอย่างยิ่ง โดย ค.ส.ล. เป็นชื่อที่มาจากการเพิ่มคุณสมบัติให้คอนกรีตด้วยการใส่เหล็กเข้าไป เนื่องจากตามธรรมชาติของ คอนกรีตจะมีคุณสมบัติในการรับแรงอัดได้ดี แต่รับแรงดึงได้น้อย ดังนั้นเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและให้ คอนกรีตสามารถรับแรงดึงได้ดี จึงจำเป็นต้องใส่เหล็กที่เป็นวัสดุที่รับแรงดึงได้อย่างดีเยี่ยมเข้าไปนั่นเอง

คอนกรีตเสริมเหล็ก

คอนกรีตเสริมเหล็กที่จะแข็งแรงต้องบ่มให้ถูกวิธี

การบ่มคอนกรีตเสริมเหล็กเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำให้ คอนกรีตที่ได้มีคุณภาพสูง ซึ่งการบ่มคอนกรีตนั้นเป็นขั้นตอนที่ทำให้ปูนเกิดปฏิกิริยาไฮเดรชั่น ที่ผู้รับเหมาก่อสร้างรู้เป็นอย่างดีสามารถเลือก บ่มได้ทั้งน้ำและสารเคมีกับปูนประเภทรับกำลังอัดเร็ว ซึ่งทั้งน้ำและสารเคมีจะแตกต่างกันที่งบประมาณเป็นหลัก โดยหากบ่มด้วยสารเคมีจะมีราคาสูงกว่า แต่ได้ความ สะดวกรวดเร็ว ส่วนการบ่มด้วยน้ำมีราคาถูกและสามารถ บ่มได้ง่าย โดยใช้ 2 แนวทาง คือ การเพิ่มความชื้น และการป้องกันการเสียความชื้น วิธีการบ่มคอนกรีต ทำได้หลายวิธี เช่น การขังน้ำ การฉีดพรมน้ำ การใช้ วัสดุเปียกชื้นคลุม การใช้แผ่นพลาสติกคลุม โดยระยะ เวลาในการบ่มขึ้นอยู่กับประเภทปูนที่ใช้และประเภทของ งานคอนกรีต ซึ่งระยะเวลาการบ่มที่ดีและให้กำลัง คอนกรีตสูงสุดจะอยู่ที่ 28 วัน แต่ในทางปฏิบัติที่มี ข้อจำกัดด้านเวลาและค่าใช้จ่ายมักไม่สามารถบ่มได้นาน โครงสร้างคอนกรีตทั่วไปสามารถบ่มขึ้นอย่างน้อย 7 วัน คอนกรีตจะมีกำลังประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และ โครงสร้างคอนกรีตที่มีปริมาณมาก ๆ เช่น ฐานราก แผ่ขนาดใหญ่ต้องบ่มขึ้นอย่างน้อย 14 วัน

ฉาบปูนอย่างไรไม่ให้แตกลายงา 

ฉาบปูนอย่างไรไม่ให้แตกลายงา

รอยแตกลายงาเป็นการแตกของพื้นผิวกระจายทั่วไป ความยาวรอยแตกไม่เกิน 3 เซนติเมตร มีสาเหตุ จากการหดตัวของผิวปูนชั้นนอกสุด เพราะสูญเสียน้ำ มากหรือเร็วเกินไป มีการจัดแต่งผิวขณะผิวหน้ายังไม่ แข็งแรงพอ ทำการ “น้ำ” ซึ่งเป็นการสลัดน้ำบนผนัง ปูนฉาบที่เริ่มแห้งหมาด ๆ ช้าเกินไป ทำให้ผิวปูนแห้ง โดยมีเทคนิคการฉาบที่ป้องกันการแตกลายงา ดังนี้

ฉาบเรียบ
  • รดน้ำผนังอิฐก่อนฉาบ เพื่อลดการดึงน้ำจากปูน ฉาบซึ่งจะทำให้ปูนฉาบแห้งเกินไป
  • การฉาบควรฉาบ 2 ชั้น ในการฉาบชั้นแรกควร หนาไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร ใช้อัตราส่วนของปูนฉาบ คือ ปูน 1 ส่วน ทรายละเอียด 2.5 – 3 ส่วน และการ ฉาบชั้นที่สองควรหนาไม่เกิน 1.5 เซนติเมตร อัตราส่วน ของปูนฉาบคือ ปูน 1 ส่วน ทราย 3-4 ส่วน ซึ่งการ ฉาบชั้นที่สองจะมีอัตราส่วนปูนน้อยกว่า จึงหดตัวน้อย และแต่งผิวได้ดีกว่า
  • การตีลงฟอง โดยสลัดน้ำไปบนพื้นผิวที่แห้ง หมาดและใช้ฟองน้ำชุบน้ำลูบ เป็นวิธีการแต่งพื้นผิว ให้ผนังเรียบเนียน โดยไม่ควรตีนขณะที่ปูนฉาบยัง ไม่แห้งหรือปล่อยให้แห้งนานเกินไป และไม่ใช้ฟองน้ำ ที่แห้งเกินไป เพราะจะดูดน้ำจากปูนฉาบออกมา ทำให้ พื้นผิวแตกร้าวได้
  • การบ่มผิว ควรพรมน้ำให้พื้นผิวชุ่มชื้นต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วัน
ลงฟอง

รู้จักกับน้ำยาเคมีภัณฑ์ที่ช่วยเสริมคุณสมบัติในคอนกรีต

น้ำยาประสานคอนกรีตเสริมเหล็ก

ทำหน้าที่เพิ่มการยึดเกาะระหว่างคอนกรีตเก่ากับคอนคอนกรีตใหม่ เพิ่มแรงดึงและ แรงอัดให้คอนกรีตหรือปูนทราย สามารถใช้ในงานขายและกระเบื้อง หรือใช้กับงาน เททับบนพื้นคอนกรีตเดิมเพื่อปรับระดับพื้น

น้ำยาหน่วงคอนกรีต

การทำงานของน้ำยาหน่วงคอนกรีตหรือน้ำยาเพิ่มกำลังคอนกรีตนั้นคือ ทำให้ สามารถลดน้ำที่ใช้ผสมและได้กำลังที่สูงขึ้น โดยเข้าไปหน่วงเวลาการแข็งตัวของ คอนกรีตในงานคอนกรีตที่ต้องเทในสภาพอากาศร้อน ซึ่งทำให้ปูนเกิดปฏิกิริยา ไฮเดรชั่น ใช้ในงานโครงสร้างขนาดใหญ่เพื่อหน่วงระยะเวลาการก่อตัวที่เร็วเกินไป

น้ำยากันซึม

เป็นน้ำยาที่ใช้เพื่อเพิ่มคุณสมบัติกันน้ำให้คอนกรีตและปูนฉาบ สำหรับใช้ใน พื้นที่ที่มีความชื้นสูงหรือสัมผัสกับน้ำเป็นประจำอย่างห้องน้ำหรือสระว่ายน้ำ โดย น้ำยากันซึมนั้นจะใช้ผสมคอนกรีตในงานก่อสร้างเพื่อลดปริมาณน้ำที่ใช้ในการผสม คอนกรีต ส่งผลให้คอนกรีตรับแรงอัดได้สูงขึ้นและไม่แตกร้าวหรือหดตัวเมื่อแข็งตัว ทั้งนี้ปริมาณน้ำยากันซึมที่ใช้ขณะผสมก่อนอาบยังแตกต่างกันไปตามพื้นที่แต่ละส่วน ของอาคาร เช่น งานฉาบทั่วไป งานที่จอดรถ งานโครงสร้างที่ใกล้กับน้ำใต้ดิน

น้ำยาบ่มคอนกรีต

ใช้สำหรับบ่มคอนกรีตก่อนเกิดกระบวนการทำปฏิกิริยาไฮเดรชั่น เพื่อสร้าง คุณสมบัติที่ดีของคอนกรีต โดยการบ่มคอนกรีตที่ดียังช่วยลดรอยร้าวที่เกิดจากการ หดตัวของคอนกรีตและทำให้คอนกรีตมีความแข็งแรงทนทานให้คุณภาพสูง วิธีการ ใช้สามารถฉีดหรือท่าทับบนพื้นผิวคอนกรีตก่อนจะแห้งตามแต่ละผู้ผลิตจะกำหนด

น้ำยาทาผิวคอนกรีต

เป็นนายาที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันฝุ่น คราบมัน และทำความสะอาดได้ง่าย สามารถใช้ได้ทั้งกับคอนกรีตใหม่และเก่า สำหรับคอนกรีตใหม่ควรทา 2 รอบ และ คอนกรีตเก่าควรทา 3 รอบ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้พื้นผิวได้ดียิ่งขึ้น

ปูนสําหรับงานซ่อมแซม

เบื้องต้นต้องพิจารณาก่อนว่าพื้นที่ที่ต้องการซ่อมแซมเป็นพื้นที่ส่วนใด หากเป็น การซ่อมแซมงานทั่วไปสามารถใช้ปูนซีเมนต์สำเร็จรูปทั่วไปได้ และเลือกใช้ให้ตรง กับประเภทงาน ซึ่งมีซีเมนต์สำหรับงานซ่อมแซมโดยเฉพาะ เช่น ซีเมนต์ซ่อมแซม แต่งผิวบางสําหรับซ่อมรอยแตกร้าว ซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้างสำหรับโครงสร้าง ที่แตกบิ่นเสียหาย อย่างรอยแตกที่ขอบมุมผนัง จมูกบันได รอยแตกร้าวของผนัง คอนกรีตหรือปูนฉาบ และซีเมนต์เกร้าท์ชนิดไม่หดตัว สำหรับอุดรอยต่อ เทปิดรูโพรง ได้ดี โดยไม่เกิดการหดตัว

ลงน้ำยา

ทำหลังคาคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างไรให้บ้านเย็นและน้ำไม่รั่วซึม

ใช้ ค.ส.ล. นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวางแผนตั้งแต่การะพระบบและก่อสร้าง โดย เบื้องต้นส่วนผสมของคอนกรีตต้องได้มาตรฐานตามที่ผู้ผลิตกำหนด มีการผสมน้ำยา กันซึมในเมื่อคอนกรีต และทำระบบกันขึ้นเพื่อป้องการน้ำรั่วซึมบนพื้นผิว โดยมี ความลาดเอียงอย่างน้อย 1 200 เพื่อระบายน้ำ พื้นผิวไม่เป็นแย่งป้องกันการเกิด น้ำขัง แนะนำให้เสริมฉนวนกันความร้อนได้ผ้าและของระบายความร้อนใต้หลังคา ค.ส.ล. เพื่อลดการสะสมความร้อน

พื้นคอนกรีตสําเร็จรูปกับพื้นคอนกรีตหล่อในที่ ใช้งานต่างกันอย่างไร

พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ทำงานก่อสร้างได้เร็ว ประหยัด ควบคุมคุณภาพได้ง่าย แต่หากมีการทุบรื้อหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างต้องทำอย่างระมัดระวัง ไม่แนะนำให้เจาะหรือตัดแผ่นพื้น พื้นจะมีการขยับตัวได้บ้าง จึงอาจรู้สึกว่าพื้นมีการสั่นเล็กน้อย เมื่อมีแรงสะเทือน และไม่ควรใช้กับพื้นที่เปียกหรือพื้นที่ที่อาจมีความชื้น เช่น พื้น ห้องน้ำ พื้นดาดฟ้า และพื้นชั้นล่างที่ติดดิน เพราะอาจเกิดน้ำซึมได้ พื้นคอนกรีตหล่อในที่ ก่อสร้างและควบคุณภาพยากกว่า พื้นหล่อเป็นชิ้นเดียว กัน จึงมีการเคลื่อนไหวหรือสั่นน้อยกว่าพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป สามารถทุบรื้อ เจาะ ตัดได้ง่ายกว่า และใช้กับพื้นที่เปียกได้ เช่น พื้นห้องน้ำ พื้นดาดฟ้า พื้นระเบียง

สรุป

การสร้างบ้านด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กไม่ใช่ว่า เทปูน คอนกรีต หรือก่อฉาบแล้ว ช่างรับเหมาก่อสร้างควรทำการบ่มปูนตามเกณท์ที่กำหนด ทั้งเพิ่มน้ำและลดการคลายน้ำมิฉะนั้นคอนกรีดอาจจะแตกร้าวได้ เนื่องจากแห้งเร็วจนเกินไป เพื่อความแข็งแรงทนต่อแรงดึงจึงต้องเสริมเหล็ก